แนวทางในการรักษาโรคศีรษะล้านกรรมพันธุ์

      การรักษาศีรษะล้านกรรมพันธุ์เพื่อให้ได้ผมกลับคืนมาในตำแหน่งเดิมจะสำเร็จได้หากรากผมบริเวณนั้นยังมีชีวิตอยู่ โดยจะสังเกตได้จาก
การมีไรผมที่ยังหลงเหลืออยู่ หรือถ้ามีศีรษะล้านเต็มขั้นไม่ควรนานเกิน 5 ปีจึงจะได้ผลการรักษาที่ดี ดังนั้นการแก้ไขหลักก็คือ การสกัดกั้นไม่
ให้ฮอร์โมนเพศชายตั้งต้นไปรวมตัวหรือกระตุ้น 5 -อัลฟ่า 1และ 5 -อัลฟ่า 2 รีเซพเตอร์ ได้ โดยการใช้กลุ่มยา 5-alpha BLOCKER ซึ่งจะ
สกัดกั้นได้เพียง 5- อัลฟ่า 2 รีเซพเตอร์ เท่านั้น และเนื่องจากกลไกการเกิดศีรษะล้านในเพศหญิงต่างจากเพศชาย ดังนั้นยา 5-alpha BLOCKER จึงใช้ไม่ได้ผลกับคนไข้ศีรษะล้านที่เป็นเพศหญิง เพราะ รีเซพเตอร์ไม่ใช่ 5 -อัลฟ่า 2 รีเซพเตอร์

แนวทางและวิธีการรักษาในเพศชาย

1.การใช้ยา 5-alpha BLOCKER จำเป็นต้องผ่านการสั่งโดยแพทย์เท่านั้นเพราะยามีผลข้างเคียงต่อระบบอื่นของร่างกาย จากการไม่มีผลข้างเคียง
เลยในบางราย จนกระทั่งมีผลข้างเคียงร้อยละ 10 -20 อาทิ ความต้องการทางเพศที่ลดลง( Libido) ไม่ใช่สมรรถภาพทางเพศลดลง ซึ่งถ้าหาก
คนไข้ซื้อยามาใช้เอง อาจจะประสบปํญหาและไม่รู้ว่าจะแก้อย่างไร จึงไม่ควรใช้ยานี้โดยไม่มีแพทย์คอยดูแลเนื่องจาก5 อัลฟ่า receptor มี
ตำแหน่งทีที่อยู่อื่นๆเช่น ต่อมไขมันบริเวณรากผม ศูนย์ควบคุมความต้องการทางเพศที่อยู่ในสมองส่วนควบคุมอารมณ์ และต่อมลูกหมาก เป็นต้น

2.การช่วยในเรื่องการหมุนเวียนของโลหิตไปเลี้ยงรากผมโดยให้กลุ่มยาขยายหลอดเลือดฝอยส่วนปลาย ซึ่งทำให้อ๊อกซิเจนและสารอาหารต่างๆไป
เลี้ยงรากผมเพิ่มขึ้น

3. การใช้ศาสตร์แห่งโภชนาการเภสัชวิทยาดูแลเส้นผม กล่าวคือเส้นผมเป็นโปรตีนชนิดพิเศษเรียกว่า เคราติน (Keratin) ทางคลีนิควีระกิตติ์เวชกรรม
ได้พัฒนาสูตรอาหารเสริมที่ให้แก่เส้นผมโดยการรับประทาน ซึ่งเป็นสูตรที่นายแพทย์วีระกิตติ์ได้ใช้วเลามากกว่า 10 ปีในการพัฒนาจนได้สูตรที่
เหมาะสมกับการดูแลเส้นผมที่มีปํญหา

Male Hair Loss Type

แนวทางและวิธีการรักษาในเพศหญิง

การรักษาศีรษะล้านในเพศหญิงการแก้ไขก็คือการใช้ยาต้านทานอิทธิพลความเด่นเกินไปของฮอร์โมนเพศชายในผู้หญิงที่มีศีรษะล้านกรรมพันธุ์
(Anti-androgenic effect) เพื่อลดการกระตุ้นโดยฮอร์โมนเพศชายสู่บริเวณรากผมที่มีศูนย์ควบคุมศีรษะล้าน รวมถึงโดยการใช้กลุ่มยา
ขยายหลอดเลือดฝอยส่วนปลายร่วมกับการรับประทานอาหารเสริมสำหรับเส้นผม

Female Hair Loss Type

อ้างอิงจาก : FITZPATRICK’S
DERMATOLOGY IN GENERAL MEDICINE
FIFTH EDITION
VOLUME 1,2
INTERNATIONAL EDITION

 

 

 

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Explore More

วิธีจัดการปัญหาผมขาดหลุดร่วง

ผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน: แก้ปัญหาเส้นผมเพื่อคืนความมั่นใจ หนึ่งในปัญหาสำคัญที่ส่งผลต่อความมั่นใจของทั้งชายและหญิง หากปล่อยไว้อาจพัฒนาเป็นปัญหาผมบางถาวร การฟื้นฟูผมให้ดกดำจึงอาจกลายเป็นเรื่องท้าทาย ปัญหาผมร่วงมีหลายสาเหตุ ตั้งแต่การไหลเวียนโลหิตไม่ดี โภชนาการไม่สมดุล ฮอร์โมนผิดปกติ เช่น DHT (Dihydrotestosterone) ไปจนถึงโรคประจำตัว เช่น ไทรอยด์ เบาหวาน ความเครียด หรือแม้กระทั่งสารเคมีจากผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผม วัฏจักรของเส้นผม (Hair Life Cycle): ระยะเจริญเติบโต: เส้นผมงอกยาว ใช้เวลาประมาณ 2-6 ปี (80-90%

ก่อนและหลังการรักษา

ภาพถ่ายจริงก่อนและหลังการรักษา Before and After 6 months Before and After 6 months Before and After 6 months Before and After 4 months Before After 3 Months After 6 Months

สาเหตุของการหลุดร่วงของเส้นผม

สาเหตุของผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน โรคผมร่วงแบ่งเป็น 2 สาเหตุใหญ่ๆ ผมร่วงชั่วคราว ได้แก่ ภาวะผมร่วงจากการเจ็บป่วย เช่น เป็นไข้สูง จับสั่น ไข้มาลาเรีย ผมร่วงจากภาวะหลังผ่าตัดที่มีการวิสัญญี ผมร่วงจากภาวะหลังคลอดบุตรภายใน 3 เดือนแรก ผมร่วงจากาการได้รับรังสีรักษา และ เคมีบำบัด ผมร่วงจากการได้รับสารเคมีที่บริเวณเส้นผม เช่น การโกรก ดัด ยืด หรือย้อมผม ผมร่วงจากสาเหตุอื่นๆ เช่น การได้รับสารพิษจากการปนเปื้อนในอาหาร ผมร่วงอย่างต่อเนื่อง